"The English Governess at the Siamese Court" หรือ "อ่านสยามตามแอนนา : การบ้านและการเมืองในราชสำนักคิงมงกุฎ" นิยามตัวเองเป็น "Recollections" หรือร่องรอยแห่งความทรงจำ ซึ่งสาระสำคัญในข้อเขียนตลอดจนตะกอนความคิดที่ผู้อ่านสัมผัสได้ย่อมนำไปสู่การตั้งคำถามต่างๆ ไม่สิ้นสุด ทั้งในแง่ความน่าเชื่อถือ เจตนาเบื้องหน้าและเบื้องหลัง ปริมาณของข้อที่เท็จและข้อที่จริง รวมถึงทัศนคติและประสบการณ์ของผู้เขียนเอง
ความท้าทายของการ "อ่านสยามตามแอนนา" จึงมีมิติที่น่าสนใจ เพราะชื่อเสียงของ "แอนนา ลีโอโนเวนส์" ติดทำเนียบหนึ่งใน "สตรีมีชื่อ" อันดับต้นๆ ในประวัติศาสตร์สยาม ทว่า.. แม้แต่ลูกหลานชาวสยามที่ได้ยินได้ฟังชื่อเสียงของแหม่มอังกฤษผู้นี้มานาน ก็อาจไม่ได้มีโอกาสรู้จักตัวตนของแอนนา ลีโอโนเวนส์ผ่านงานเขียน "ของเธอ" มากเท่างานที่เขียน "ถึงเธอ" ด้วยซ้ำไป อีกทั้งอาจไม่ได้รู้ตื้นลึกหนาบางของสยาม ณ เวลานั้นอย่างรอบด้าน
กระนั้น "แอนนา แฮร์เรียต ลีโอโนเวนส์" ก็เป็นชาวต่างชาติที่ทำงานใกล้ชิดกับ "คิงมงกุฎ" อีกทั้งเข้าถึงวงในใจกลางราชสำนักฝ่ายในของพระองค์มากกว่าชาวต่างชาติคนอื่น และบันทึกสิ่งที่พบเจอด้วยตัวเองอย่างตรงไปตรงมาจากจุดยืนต่างวัฒนธรรมและความเชื่อ แต่บันทึกของแอนนาอาจมีสีสันกว่าเพราะมีโอกาสได้รับรู้ทั้งการบ้านและการเมืองของราชสำนักในวงลึกกว่าชาวต่างชาติคนใดๆ หรือแม้แต่ชาวสยามเอง
บาร์โค้ด | เล่มที่ / ฉบับที่ | สถานที่จัดเก็บ | สถานะ | |
---|---|---|---|---|
M025803 | M-ห้องสมุดภะรตราชา | อยู่บนชั้นวางหนังสือ | เข้าสู่ระบบ |
MARC Information